มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ (1 มิ.ย. 64 – 31 ก.ค. 64)
ตั้งแต่ต้นปี 2563 ถึงปัจจุบัน ธปท. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้รายได้และความสามารถในการชำระหนี้ลดลงอย่างมาก สินเชื่อสำคัญอีกประเภทที่ประชาชนเป็นหนี้กัน คือหนี้เช่าซื้อรถยนต์ เนื่องจากรถยนต์ถูกใช้ในการประกอบอาชีพ และใช้กันทั้งครอบครัว
ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ยังคงประกอบอาชีพได้หรือใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ธปท. กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และ ผู้ให้บริการทางการเงิน 12 แห่ง จึงร่วมกันสนับสนุนการจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์ขึ้น เพื่อลดภาระในการชำระหนี้
ผู้ประกอบธุรกิจที่เข้าร่วม
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด
บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด
บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน)
บริษัท เงินติดล้อ จำกัด
บริษัท ชยภาค จำกัด
บริษัท ตะวันออกพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์(ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
บริษัท เฮงลิสซิ่ง จำกัด
บริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด
กรอบความช่วยเหลือ
กลุ่มที่ 1 Non-NPL ที่ได้รับผลกระทบ | กลุ่มที่ 2 NPL แต่ยังไม่ถูกยึดรถ | กลุ่มที่ 3 NPL | |
---|---|---|---|
3.1 ยึดรถแล้ว แต่ยังไม่ถูกขายทอด | 3.2 ขายทอดตลาดแล้ว และยังมีหนี้ค้างชำระ | ||
1.1 ปรับโครงสร้างหนี้ | 2.1 ปรับโครงสร้างหนี้ โดยลดค่างวด / ขยายระยะเวลา | ชะลอการขายรถที่ใช้ประกอบอาชีพ ปรับโครงสร้างหนี้ และคืนรถให้ลูกหนี้ โดยระยะเวลาที่จะคืนรถให้ลูกค้า เป็นไปตามเกณฑ์ สคบ. หรือเกณฑ์ของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง | ให้ส่วนลดแก่ลูกหนี้ และให้ระยะเวลาผ่อนชำระ |
1.2 พักชำระค่างวด สำหรับลูกหนี้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง หากเก็บดอกเบี้ยช่วงพัก ให้คำนวณบนฐานจำนวนเงินของ ค่างวดที่พัก | 2.2 ลูกหนี้ขอคืนรถ ให้ส่วนลด และให้ระยะเวลาผ่อนชำระหากมีหนี้ค้างชำระหลังขายทอดตลาด | ||
1.3 ลูกหนี้ขอคืนรถ สำหรับลูกหนี้ที่เคยได้รับการพักชำระค่างวดหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และได้รับผลกระทบรุนแรงจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ | หมายเหตุ 1/ แนวทางความช่วยเหลือจะแตกต่างกันตามความเหมาะสม ระดับผลกระทบที่ได้รับ และความสามารถ ในการชำระหนี้ของลูกหนี้ 2/ การคำนวณหนี้ค้างชำระหลังขายทอดตลาดให้เป็นไปตามที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนด 3/ หากมีค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ ขอให้ชำระค่างวดนั้นด้วยเพื่อไม่ให้ผิดนัดชำระ จนกว่าการเจรจากับผู้ประกอบธุรกิจจะแล้วเสร็จ |
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2021/Pages/n3764.aspx